
คู่มือใหม่สำหรับผู้ที่จะขอการรับรอง Thailand PSF (ฉบับปรับปรุง กุมภาพันธ์ 2568) เผยแพร่บน Website แล้ว มีรายละเอียดปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในสาระสำคัญหลายส่วน ผู้ที่เป็นอาจารย์ที่จะขอการรับรอง จากช่วงนี้ไป สามารถแชร์ไปเป็นข้อมูลได้ครับ
————-
1) แต่เดิมเคยกำหนดให้มีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา แต่จากนี้ไป เป็นหนังสือรับรองจากผู้ที่รู้จักและเห็นผลงานของผู้ขอรับการประเมินแทน และเปลี่ยนแบบฟอร์ม Thailand PSF 01 ที่มีช่องผู้บังคับบัญชาลงนามแทน
จดหมายรับรอง (letters of reference) มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันและเสริมความน่าเชื่อถือในความสามารถทางการสอนของผู้ขอรับการประเมิน ผ่านหลักฐานเชิงประจักษ์และเชื่อมโยงกับมาตรฐานอุดมศึกษาของไทย จดหมายรับรองทําหน้าที่เป็นหลักฐานบุคคลที่สามที่สําคัญ ในการสนับสนุนสิ่งที่ผู้ขอรับการประเมินเขียนช่วยให้คณะกรรมการผู้ประเมินมองเห็นมิติของผู้สมัครในด้านความรู้ในศาสตร์ของตนเอง และศาสตร์การเรียนรู้
ความสามารถในการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ศักยภาพในการพัฒนาการจัดเรียนการสอน ตลอดจนคุณค่า จรรยาบรรณ และการเติบโตทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
.
2) การบ่งชี้ถึงสมรรถนะตามองค์ประกอบย่อยในเนื้อหาผลงานด้านการเรียนการสอน ให้ใช้วิธีอ้างอิงกับเลขลําดับที่กํากับองค์ประกอบย่อย เมื่อเขียนถึงเรื่องหรือประเด็นนั้นในองค์ประกอบต่าง ๆ ตามตารางแสดงเกณฑ์
แนวทางพัฒนาคุณภาพอาจารย์ฯ (หน้า 17) และให้ใช้ตัวอักษรแสดงองค์ประกอบหลักเพื่อความชัดเจน โดย
กําหนดให้ ด้านความรู้ ใช้ “ร” ด้านสมรรถนะ ใช้ “ส” ด้านค่านิยม ใช้ “ค” เช่น อ้างอิง (ร 1.2.4) หมายถึงประสบการณ์นี้แสดงความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้-แนะนําและแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้และ
การวัดและประเมินผลแก่เพื่อนอาจารย์ในสาขาวิชาหรือหน่วยงาน
(ขยายความเพิ่มด้วยภาษาของผมเองว่า แต่เดิมเคยอ้างอิงสองหลัก ตามคู่มือใหม่ให้อ้างอิงสามหลัก จาก ร 1.1 เป็น ร 1.1.1 …  จนครบทุก Bullet ย่อย)
.
ผู้ขอรับการประเมินควรตรวจสอบว่าเนื้อหาที่เขียนได้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ครบทุกหัวข้อย่อยตามเกณฑ์ในแนวทางพัฒนาอาจารย์ฯ การอ้างอิงให้ใส่เป็นวงเล็บ “ ท้ายประโยค” หรือ “ท้ายย่อหน้า” ที่กล่าวถึงเรื่องนั้น
.
3) ผลงานด้านการเรียนการสอนที่นํามาเขียนควรเป็นประสบการณ์จากบทบาทของตนในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นปัจจุบัน ตามบริบทของผู้ขอรับการประเมิน โดยอยู่ในช่วง “ระยะเวลา 3 ปี”นับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน
(ผมขอขยายความด้วยภาษาของผมว่า ผู้ขอรับการประเมิน ที่เป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนมานาน ให้ใช้ผลงานย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี  เป็นผลงานปัจจุบัน หากมีอายุงานไม่ถึงสามปี ก็เขียนขอการรับรองได้ในระดับที่ตัวเองมีผลงานจริง โดยส่งในระดับที่้เป็นไปตามเกณฑ์ ที่ต้องสอดคล้องกับผลงานที่มีจริงครับ)
.
4) ควรเขียนเป็น “กรณีศึกษาจากประสบการณ์การสอน” ที่ผู้ขอรับการประเมินได้จัดการเรียนการสอน “ที่ผ่าน มา 2 กรณี” เพื่อให้เห็นการจัดการเรียนการสอนในมิติที่หลากหลาย
(สำคัญมาก) *** ไม่ควรลอกเกณฑ์หรือเขียนในลักษณะตอบคําถามตามเกณฑ์แต่ละข้อ ควรเขียนให้ร้อยเรียงเชื่อมโยงกัน
*** กรณีศึกษาที่ดี ***ควรประกอบด้วย ประเด็นหลักที่สําคัญที่สอดคล้องกับสมรรถนะต่าง ๆ ในระดับที่ขอรับการประเมิน อธิบายแนวคิดหรือทฤษฎีทาง
การศึกษาหรือทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และข้อค้นพบหรือข้อสังเคราะห์ที่สามารถ
นําไปใช้พัฒนาการสอนหรือแนวทางปฏิบัติได้
โดยเนื้อหาของกรณีศึกษาต้องสะท้อนถึงมิติของการเรียนรู้ การปรับตัว และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางวิชาชีพของผู้ขอรับการประเมินอย่างเป็นระบบ
.
5) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ต้องนําความรู้หรือทักษะนั้นมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
.
6) การเชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ของตนกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์อาจเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเรียนการสอน วิจัย หรือบริการวิชาการ เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญหรือความแตกฉานในศาสตร์ของตน
.
7) การวิจัยในชั้นเรียน ควรเป็นผลงานที่ผู้ยื่นขอรับรองทําภายใน 3 ปีนับถึงวันที่ยื่นขอรับการประเมิน ชั้นเรียนอาจหมายถึงบริบทการ จัดการเรียนการสอนในลักษณะใดก็ได้ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สถานประกอบการ สถานที่ปฏิบัติงาน ชุมชน เป็นต้น และต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ในรูปแบบของการนําเสนอผลในรูปแบบใดก็ได้ อาทิ การนําเสนอในหน่วยงาน การนําเสนอในที่ประชุมวิชาการ ตีพิมพ์เผยแพร่ หรือรายงานผลการวิจัย เป็นต้น ทั้งนี้อาจรวมถึงการวิจัยทางการศึกษาที่ผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้ทําและได้นํามาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
.
8) การเป็นพี่เลี้ยงต้องแสดงถึงกระบวนการ “สร้างครูที่มีคุณภาพ” การมีเป้าหมายที่ชัดเจน การให้การสนับสนุน คําแนะนํา การฝึกอบรม แนวทางการให้ความช่วยเหลือ โดยกําหนดระยะเวลาของกิจกรรมและการติดตามที่ชัดเจน รวมถึงการประเมินติดตาม
และให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบ
.
ก่อนเขียนผู้ขอรับการประเมินควรศึกษาเกณฑ์ให้เข้าใจ แล้วเขียนเนื้อหาสอดคล้องกับเกณฑ์ภายใต้องค์ประกอบย่อยตามระดับที่จะขอรับการประเมิน ให้ครอบคลุมและครบทุกเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในแต่ละระดับ โดยเขียนเป็นลักษณะของความเรียง ไม่ควรใส่ตาราง รูปภาพ หรือแผนภูมิใด ๆ และกําหนดความยาว
ระดับที่ 1 และ 2 ไม่เกิน 3,000 คํา (ภาษาอังกฤษ) หรือประมาณ 8-10 หน้า (ภาษาไทย)
รายละเอียดอื่นๆ สามารถ Download คู่มือฉบับปรับปรุง กุมภาพันธ์ 2568 ได้จาก Link ไปที่ Website ของ ควอท
ที่ https://www.thailandpod.org/…/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9…
ที่ https://www.thailandpod.org/…/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9…
ข้อมูลเผยแพร่เพื่อสร้างความเข้าใจ ผู้สนใจสามารถ Share ไปได้ครับ