สรุปย่อ ส่วนสำคัญอีกครั้ง สำหรับผู้ที่จะเขียนผลงานด้านการเรียนการสอน เพื่อการขอการรับรอง Thailand PSF ระดับที่ 2 (Share เก็บไว้อ่านได้ หากคิดว่าเป็นประโยชน์ครับ)
——–
สิ่งที่ต้องส่ง ให้ดูในภาพประกอบ
1) PSF – 01 แบบขอยื่น
2) ประวัติย่อตนเอง 1 หน้า
3) ผลงานด้านการเรียนการสอน ประมาณ 10 หน้า (3,000 คำ)
4) PSF – 02 แบบประเมินตนเอง
5) หนังสือรับรอง จาก 2 ท่าน (รายละเอียดอ่านจากภาพประกอบใน post)
**** ด้านบน 1 File ****
และ ภาคผนวก เอกสารเพิ่ม (ถ้ามี) อีกจำนวน 1 ไฟล์ (PDF)
*******
ส่วนของผลงาน 10 หน้านั้น ผลงานด้านการเรียนการสอนที่ทำโดยอ้างอิงกับแนวทางส่งเสริม คุณภาพฯ ให้อ้างตัวอักษรและเลข
ความรู้ ใช้ “ร” ตัวอย่าง เช่น ร ๑.๑ องค์ความรู้มิติที่ ๑ องค์ประกอบย่อยที่ ๑ เป็นต้น ดังนั้นจึงมี
ทั้งนี้ หากจะขอการรับรองระดับที่ 2
*** ความรู้ ใช้ “ร” ประกอบด้วย
ร ๑.๑ ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาของตน
-อธิบายแนวคิด และหลักการสำคัญของวิชาที่สอน พร้อมทั้งการประยุกต์ใช้
-จัดลำดับและเชื่อมโยงหัวข้อที่สอนได้อย่างเป็นระบบ
-ติดตามองค์ความรู้ที่ทันสมัยวิเคราะห์และนำมาใช้อย่างเหมาะสม
-ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เพื่อนอาจารย์ในสาขาวิชาหรือหน่วยงาน
ร ๑.๒ ความรู้ในศาสตร์การสอน
-อธิบายจิตวิทยาการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
-ระบุวิธีจัดการเรียนรู้และวิธีวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ และกลุ่มผู้เรียน
-วิเคราะห์ภูมิหลังและศักยภาพของผู้เรียนเพื่อนำไปออกแบบกระบวนการเรียนรู้
-แนะนำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลแก่เพื่อนอาจารย์ในสาขาวิชาหรือหน่วยงาน
*** สมรรถนะ ใช้ “ส” ประกอบด้วย
ส ๒.๑ ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
-ออกแบบกิจกรรม และการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้
-ประสานงานกับผู้สอนร่วมในรายวิชา (ถ้ามี) ในการออกแบบการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาการจัดการเรียนรู้
-มีส่วนร่วมในการพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนอาจารย์ในสาขาวิชา หรือหน่วยงาน
ส ๒.๒ ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
-จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
-จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับเนื้อหา ผลการเรียนรู้ และระดับของผู้เรียน
-ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
-พิจารณานำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
-ประสานงานการจัดการเรียนรู้กับผู้สอนร่วม (ถ้ามี) อย่างมีประสิทธิภาพ
-กำกับดูแลและติดตามพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
-ใช้นวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
-แนะนำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่เพื่อนอาจารย์ในสาขาวิชาหรือหน่วยงาน
ส ๒.๓ เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
-จัดบรรยากาศการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เรียน
-ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในการพัฒนาการเรียนรู้
-จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
-วินิจฉัยปัญหาของผู้เรียน และช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา
ส ๒.๔ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูล
-ป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์
-ประเมินความก้าวหน้า (formative) และประเมินผลสรุป (summative) โดยเน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
-สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์
-เลือกวิธีและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ และกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน
ค่านิยม ใช้ “ค” ประกอบด้วย
ค ๓.๑ คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
-พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
-มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ในสาขาวิชาหรือหน่วยงาน
-รับฟังความคิดเห็นจากผู้ร่วมวิชาชีพเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
ค ๓.๒ ธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์
-ปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์ขององค์กร
-มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและให้เกิดการปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์ในสาขาวิชาหรือหน่วยงาน
**** อ้างตามวรรรค เท่าที่จำเป็นเกี่ยวข้อง อย่าเขียน 1 หน้า A4 แล้วอ้างยาว 8 แบบต่อเนื่อง แสดงถึงการไม่เข้าใจวิธีเขียนอ้าง ***
——
ก่อนเขียนผู้ขอรับการประเมินควรศึกษาเกณฑ์ให้เข้าใจ แล้วเขียนเนื้อหาให้ครอบคลุมและแสดงให้เห็นว่าสอดคล้องกับเณฑ์แต่ละระดับอย่างไร โดยแสดงให้เห็นถึง …
1) การมีส่วนร่วมที่ประสบความสำเร็จในองค์ประกอบทั้ง ๓ ด้าน
2) ผลสัมฤทธิ์หรือการประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน
3) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ อาจรวมถึง การวิจัยด้านการเรียนการสอน
4) การสะท้อนคิด (reflection) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่กระทำ การวิเคราะห์สิ่งที่กระทำและผลที่เกิดขึ้น รวมถึงสิ่งที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
ศึกษารายละเอียดได้จากคู่มือการขอรับการประเมิน ฉบับปรับปรุง มิถุนายน 2567 (ฉบับล่าสุด)
ทั้งนี้
1) เรียงเอกสารให้ถูกต้อง จัดทำเป็น PDF 2 ไฟล์เท่านั้น
2) ตรวจทุกองค์ประกอบว่า “สะท้อนคิดเชิงประจักษ์ครบถ้วน”
3) เขียนเป็นกรณีศึกษา อย่างน้อย 2 กรณี และสะท้อนคิดเสมอ
4) ไม่เขียนแบบลอกโจทย์
5) เมื่อรับรองว่าเป็นความจริง ข้อมูลจริง ต้องสอดรับกันทั้งหมด ตั้งแต่หนังสือรับรอง ถึงเอกสารผลงาน และหลักฐาน (ถ้ามีให้จัดทำเป็น PDF 1 File ไม่จัดทำเป็น Link Google Drive)หากเป็นรายงานการประชุม ต้องมาจากการประชุมจริง มีมาตรฐาน
ทั้งหมดในเอกสารสะท้อนผลงาน ต้องตอบได้ว่า
ทำอะไร >> ทำไมถึงทำเช่นนั้น >> ทำอย่างไร >> ได้ผลอย่างไร >> สะท้อนคิด
หากคุณสมบัติถึง Level 2 ขอระดับที่ 2 หากไม่ถึง Level 3 อย่าขอ 3 จนกว่าจะมีผลงานถึง ค่อยขอระดับ 3 เป็นพื้นที่ที่ให้พัฒนาตนเองต่อไป
หากเป็นประโยชน์ Share ไปได้ ไม่ต้องขออนุญาตครับ